การจัดเข้าในสกุล Homo ของ Homo habilis

ขนาดที่เล็กและลักษณะล้าหลังของมนุษย์กลุ่มนี้สร้างความขัดแย้งระหว่างนักวิชาการว่า ควรจะจัดเข้าในสกุล Homo หรือ Australopithecus ได้เหมาะสมกว่า[6][7]โดยนักวิชาการบางท่าน (รวมทั้ง ริชาร์ด ลีกคีเอง) เสนอว่าควรกัน H. habilis ออกจากสกุล Homo แล้วใส่ไว้ในกลุ่ม Australopithecus โดยเป็น Australopithecus habilis[4]

นักบรรพมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ-เคนยา หลุยส์ ลีกคี เป็นบุคคลแรกที่เสนอว่ามีมนุษย์จำพวกนี้ โดยภรรยาคือ แมรี ลีกคี เป็นผู้พบฟันสองซี่แรกของ H. habilis ในปี 2498ซึ่งต่อมาระบุว่าเป็น ฟันน้ำนม ซึ่งพิจารณาว่าเป็นตัวระบุชนิดสัตว์ได้ยากโดยไม่เหมือนกับฟันแท้ต่อมาในปี 2502 แมรีจึงได้ค้นพบกะโหลกศีรษะของเด็กชายที่มีสมองเล็ก ใบหน้าใหญ่ ฟันเขี้ยวเล็ก และฟันเคี้ยวขนาดใหญ่ ทำให้สปีชีส์นี้ได้ชื่อเล่นอีกอย่างว่า นายกะเทาะเปลือกถั่ว (อังกฤษ: The Nutcracker man)[2]

H. habilis เตี้ยและมีแขนยาวอย่างไม่สมส่วนโดยเทียบกับมนุษย์ปัจจุบันแต่ก็ยังมีใบหน้าที่ยื่นออกน้อยกว่า australopithecine ที่เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษมีปริมาตรกะโหลกศีรษะที่น้อยกว่าครึ่งของมนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อยและแม้ว่าจะมีสัณฐานและกายที่คล้ายเอป แต่ซากของ H. habilis บ่อยครั้งอยู่ร่วมกับเครื่องมือหินแบบง่าย ๆ เช่นที่ โบราณสถาน Olduvai Gorge ประเทศแทนซาเนีย และโบราณสถาน Lake Turkana ประเทศเคนยา

H. habilis มักพิจารณาว่าเป็นบรรพบุรุษของ H. ergaster ที่ผอมงามกว่า (gracile) และฉลาดซับซ้อนมากกว่า ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของสปีชีส์ที่เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น คือ H. erectusข้อถกเถียงว่า ซากดึกดำบรรพ์ที่พบแล้วทั้งหมดได้จัดเข้ากับสปีชีส์นี้อย่างถูกต้องแล้วหรือไม่ ก็ยังดำเนินต่อไป โดยมีนักบรรพมานุษยวิทยาที่มองหน่วยอนุกรมวิธานนี้ว่า เป็นโมฆะ เพราะประกอบด้วยตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ของทั้งสกุล Australopithecus และ Homo[8]งานศึกษาปี 2550 ก็ดูจะยืนยันมุมมองว่า H. habilis และ H. erectus มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเป็นสายพันธุ์ที่สืบต่อจากบรรพบุรุษเดียวกัน แทนที่ H. erectus จะสืบสายพันธุ์มาจาก H. habilis[9]แต่คำอธิบายที่เป็นไปได้อีกอย่างก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง H. habilis กับ H. erectus เป็นแบบแยกสาย (cladogenetic) ไม่ใช่แบบสายตรง (anagenetic) คือ กลุ่มย่อยของ H. habilis เป็นบรรพบุรุษของ H. erectus และดังนั้น กลุ่มอื่น ๆ ก็ยังดำรงเป็น H. habilis จนกระทั่งสูญพันธุ์[10]

ขนาดสมองเฉลี่ยของมนุษย์กลุ่มนี้อยู่ที่ 610 ซม3[7]โดยมีขนาดระหว่าง 550-687 ซม3[11]ส่วนงานสร้างใหม่เสมือนที่ตีพิมพ์ในปี 2558 ประมาณปริมาตรของภายในกะโหลกระหว่าง 729-824 มล ซึ่งใหญ่กว่าขนาดที่เคยรายงานมาทั้งหมด[12]

ขนาดสมองของ H. habilis ที่ 640 ซม³ จะใหญ่กว่าของ australopithecine ประมาณ 50% โดยเฉลี่ย แต่ก็ยังเล็กกว่าสมองมนุษย์ปัจจุบันที่ 1,330 ซม³ พอสมควรและตัวเตี้ยกว่ามนุษยปัจจุบัน โดยผู้ชายสูงเฉลี่ยที่ 1.3 เมตร

งานปี 2556 รายงานส่วนหนึ่งของกระดูกขากรรไกรที่มีอายุราว 2.8 ล้านปีก่อน พบในโบราณสถาน Ledi-Geraru ในบริเวณอะฟาร์ของเอธิโอเปีย[5]โดยพิจารณาว่า เป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สุดของสกุล Homo ที่พบจนถึงปีนั้น และดูเหมือนจะเป็นซากดึกดำบรรพ์ในระหว่าง Australopithecus และ H. habilisเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตหลังจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบฉับพลัน ที่สิ่งแวดล้อมแบบป่าและทางน้ำ ได้กลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาอย่างรวดเร็ว[13]

แบบถอดกะโหลกศีรษะของ Homo habilis ขวาสุดเป็นของ Paranthropus boisei ณ พิพิทธภัณฑสถานอินเดีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: Homo habilis http://australianmuseum.net.au/Homo-habilis http://www.archaeologyinfo.com/homohabilis.htm http://news.nationalgeographic.com/news/2002/01/01... http://www.nature.com/polopoly_fs/1.14957!/menu/ma... http://www.newscientist.com/article/dn27079-oldest... http://link.springer.com/referenceworkentry/10.100... http://onlinelibrary.wiley.com/store/10.1002/ajpa.... http://www.mnsu.edu/agdkgdfj;/habilis.html http://humanorigins.si.edu/evidence/human-evolutio... http://humanorigins.si.edu/evidence/human-fossils/...